วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

การติดตั้งเน็ตเวอร์ก

บริการ Outdoor Hotspot ปัจจุบันมีผู้ให้บริการหลายรายที่ติดตั้ง WiFi Hotspot ประเภท Outdoor กระจายทั่วเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่มีผู้ให้บริกาบอร์ดแบนด์รายใหญ่ที่สุดอย่าง True ได้เปิดให้บริการ TRUE WiFi ไว้มากกว่า 15,000 จุดทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งหากท่านลองออกมานอกบ้าน แล้วใช้ Notebook, PDA หรือ โทรศัพท์มือถือ Scan Wireless Network ดูก็จะพบกับ SSID ที่ชื่อว่า TRUE WiFi อยู่ทั่วเมืองไปหมด นั่นหมายความว่าขณะนี้กรุงเทพฯได้กลายเป็น WiFi City ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะไปช้อปปิ้งที่ห้าง นั่งจิบกาแฟ หรือแม้แต่ร้านข้าวต้มข้างทาง ก็สามารถหยิบ Notebook หรืออุปกรณ์อื่นๆขึ้นมาท่องเน็ตความเร็วสูงแบบไร้สายได้อย่างสบายๆ เพียงหาซื้อ Account จากผู้ให้บริการนั้นๆ หรือเลือกใช้โปรโมชั่นที่รวม WiFi Account มาให้ด้วย โดยความเร็วที่ได้รับจาก Outdoor AP นั้น ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว หากอยู่ในสถานที่ที่สัญญาณมีคุณภาพสูง (ที่ทดสอบ สามารถทำได้มากกว่า 1Mbps เลยทีเดียว) อยากใช้แต่ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง แน่นอนว่าการติดตั้ง Outdoor AP ดังกว่าวคงไม่สามารถติดตั้งได้ครอบคลุมไปถึงสถานที่ที่เราอยากใช้ได้อย่างทั่วถึงในทันที และสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการใช้งานพอสรุปได้ดังนี้คือ ระยะทางโดยทั่วไปแล้ว Wi-Fi Adaptor ที่ติดตั้งอยู่กับตัว Laptop หรือ PC นั้นจะมีกำลังส่งจำกัด โดยมีจุดประสงค์เพื่อประหยัดพลังงาน และการออกแบบส่วนใหญ่จะหวังผลการทำงานในระยะ 30-50 เมตรเท่านั้น กำลังส่ง & คุณภาพสัญญาณธรรมชาติของย่านความถี่ 2.4Ghz ที่จะลดทอนลงอย่างมากเมื่อผ่านสิ่งกีดขวางเช่น กำแพง ปูน กระจก เหล็ก เป็นต้น ซึ่งทำให้สัญญาณจาก AP นอกอาคารไม่สามารถผ่านเข้ามายังจุดที่ต้องการใช้งานได้ และคอมพิวเตอร์ของเราเองก็ไม่สามารถส่งสัญญาณกลับไปถึงได้เช่นกัน ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ทุกปัญหาย่อมมีทางออก ;D note: วิธีที่เราแนะนำต่อไปนี้ ไม่จำกัดเฉพาะสินค้าของยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเท่านั้น ขอบอกให้พอเป็น idea แล้วอาจจะต้องนำไปปรับใช้กับอุปกรณ์แต่ละตัวอีกที Solution1 : ใช้ USB Wi-Fi Adaptor ที่มีกำลังส่งสูงกว่าปกติวิธีนี้น่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยเพียงใช้ USB Adaptor ที่มีกำลังส่งสูงเพียงพอ โดยใช้ เพียงอุปกรณ์มาตรฐานแต่หากว่าระยะทางไกลเกินไป หรือมีสิ่งกีดขวางมาก ก็เพียงต่อสายอากาศการ USB รุ่นที่สามารถเปลี่ยนเสาได้ ไปยังเสาอากาศภายนอกอาคาร โดยแนะนำให้สายอากาศไม่ควรยาวเกิน 3-5 เมตร และแนะนำให้ขยายสาย USB จาก Computer ไปให้ใกล้กับจุดเชื่อมต่อสายอากาศภายนอกอาคารมากที่สุด เพื่อลดระยะทางของสายอากาศ ซึ่งจะประหยัดและได้คุณภาพสัญญาณที่ดีกว่าSolution 2:ใช้ Indoor AP และใช้งานในโหมด Client Bridgeกรณีที่บ้านอยู่ไม่ห่างจาก Outdoor AP ตัวส่งมากนัก ก็สามารถใช้ AP ที่มีโหมด Client Bridge เชื่อมต่อไปยัง Outdoor AP ได้ โดยไม่ต้องต่อสายอากาศภายนอกกรณีที่ AP ในบ้านไม่สามารถเชื่อมต่อไปยัง Outdoor AP ได้ ก็สามารถลากสายอากาศจาก Indoor AP ไปยังเสาอากาศ แบบ Panel ที่ต้องติดตั้งนอกอาคาร แต่มีข้อจำกัดคือ ระยะสายอากาศนั้น ไม่ควรเกิน 3-5 เมตร เพราะอาจจะทำให้สูญเสียสัญญาณไปมากSolution 3: ใช้ Outdoor AP ที่มีเสาอากาศติดตั้งมาด้วยใช้ Outdoor AP เพื่อเชื่อมต่อไปยัง AP ของผู้ให้บริการ โดยตั้งค่า AP ของเราให้เป็น Mode Client Bridge และทำการ Login ที่เครื่อง PC ก่อนใช้งานเช่นเดิมข้อดีคือ จะได้รับสัญญาณที่มีคุณภาพสูงที่สุด เพราะจะเกิดไม่เกิดการสูญเสียสัญญาณระหว่าง AP กับเสาอากาศ โดยสายที่ติดตั้งภายนอก จะมีเฉพาะสาย UTP ที่มีทั้ง Data และ Power วิ่งไปบนสายเดียวกันข้อเสียคือ ต้นทุนสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น