วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

การหางานผ่าน InterNet


การหาตำแหน่งงานผ่านอินเตอร์เนต
ปัจจุบันสื่อการหางานที่ครบวงจรที่สุดก็คืออินเตอร์เนต แต่ผู้หางานจำนวนมากยังคงไม่พอใจในการหางานผ่านทางเว็บไซต์ จากการสำรวจของสำนักวิจัยฟอเรสเตอร์ (Forrester Research) ซึ่งทำการสำรวจผู้หางานจำนวน 3,000 คน พบว่าผู้ที่หางานส่วนมากคิดว่างานที่ประกาศรับสมัครในอินเตอร์เนตนั้นยังเป็นงานที่ไม่ดีเท่าที่ควร และผู้ที่ฝากใบสมัครงาน ประวัติส่วนตัว บนเว็บไซต์จำนวนกว่าร้อยละ 45 ยังคงไม่ได้รับการตอบรับเข้าทำงานหรือเรียกไปสัมภาษณ์แต่อย่างใด ส่วนงานทางด้านเทคโนโลยีก็ยังคงมีอยู่แต่ไม่มากเท่ากับเมื่อช่วงที่บริษัทดอตคอมกำลังรุ่งเรืองใหม่ๆ หรือในช่วงที่การหางานผ่านอินเตอร์เนตเพิ่งเริ่ม ในขณะที่มีผู้ต้องการทำงานในด้านเทคโนโลยีถึงร้อยละ 37 หรือคิดเป็นอัตราส่วนได้ถึง 1 ใน 3 อย่างไรก็ตามสถานการณ์นี้กำลังเปลี่ยนไป จากการศึกษาของสำนักวิจัยฟอร์เรสเตอร์พบว่า ผู้ว่าจ้างจำนวนไม่น้อยที่พบว่าการสรรหาผู้สมัครงานทางอินเตอร์เนตมีประสิทธิภาพมากกว่าการหาผู้สมัครด้วยวิธีดั้งเดิม เช่นการลงประกาศทางสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่อวิทยุต่างๆ ทั้งนี้เนื่องมาจากว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงประกาศหางานทางหนังสือพิมพ์ ซึ่งสำนักวิจัยฟอร์เรสเตอร์ได้คาดคะเนว่าในปี พ.ศ. 2547 สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 31 เลยทีเดียว ในเรื่องนี้ปีเตอร์ เว็ดเดิล (Peter Weddle) ซึ่งเป็นนักเขียนในคอลัมน์การจ้างงานผ่านอินเตอร์เนตในหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอนอล และผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการหางานผ่านอินเตอร์เนตที่ชื่อ “แนวทางของเว็ดเดิลในการหางานผ่านเว็บไซต์” โดยที่เว็ดเดิลได้คาดคะเนว่าในปี พ.ศ. 2546 บริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมดจะเปิดรับสมัครงานผ่านเว็บไซต์ ส่วนบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจะประกาศรับสมัครงานผ่านเว็บทางเว็บไซต์คิดเป็นร้อยละ 60 และ 20 ตามลำดับ
เว็บไซต์หางาน
เริ่มแรกนั้นการหางานผ่านอินเตอร์เนตเป็นไปในรูปแบบที่ผู้หางานจะสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวที่บรรจุรายละเอียดส่วนตัวเอาไว้ แล้วนำเว็บไซต์นั้นไปไว้ใน “เสิร์ชเอ็นจิ้น (Search Engine)” หรือเครื่องมือสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เนตต่างๆ โดยหวังว่าผู้ว่าจ้างจะบังเอิญสะดุดตากับเว็บไซต์หรือค้นหาเว็บไซต์เจอ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ดังนั้นต่อมาวิธีการหางานผ่านอินเตอร์เนตจึงเปลี่ยนมาเป็นการฝากประวัติส่วนตัว (Resume) ไว้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เนตหรือไอเอสพีเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่ายของบริษัทเพื่อผู้ว่าจ้างจะสามารถเรียกดูได้จากเครื่องแม่ข่ายตัวนั้น หรืออีกวิธีหนึ่งคือผู้หางานค้นหาเว็บไซต์ของบริษัทผู้ว่าจ้างแล้วติดด่อกับบริษัทเองโดยตรง ปัจจุบันการหางานผ่านอินเตอร์เนตอยู่ในรูปแบบที่มีเว็บสื่อกลางเปิดรับฝากประวัติส่วนตัวเพื่อประกาศให้ผู้ว่าจ้างได้เลือกและปิดประกาศตำแหน่งงานที่ว่างให้ผู้สมัครได้เข้ามาเลือก และที่ยิ่งไปกว่านั้นเว็บไซต์หางานเริ่มที่จะกลายเป็นเว็บไซต์หางานแบบเฉพาะด้านกันมากขึ้น เช่น เว็บไซต์โครนิเคิลดอตคอม (Chronicle.com) และเว็บไซต์เอพีเอ็นจ๊อบสดอตคอม (Apnjobs.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ช่วยหางานสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นคุณครู นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์เฉพาะในรูปแบบอื่น เช่น เว็บเอมพลอยอัสดอตคอม (Employus.com) ที่ช่วยเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ว่าจ้างกับชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน หรือเว็บอินเตอร์คริสโตดอตคอม (Intercristo.com) ที่มุ่งหางานให้กับผู้ที่ต้องการทำงานในองค์กรศาสนาคริสต์ เว็บมาร์เก็ตติ้งจ๊อบสดอตคอม (Marketingjobs.com) จะรวบรวมงานด้านการตลาดและการขายไว้ หรือเว็บงานเฉพาะด้านอย่างเว็บทรัคไดรเวอร์ดอตคอม (truckdriver.com) ซึ่งเป็นแหล่งรวมงานสำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเป็นคนขับรถบรรทุก เว็บไซต์ที่ถูกจัดอันดับว่าเป็นเว็บไซต์หางานที่มีผู้เข้าไปใช้บริการมากที่สุดคือ เว็บไซต์มอนสเตอร์ดอตคอม (Monster.com) ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากว่าร้อยละ 61 ของผู้หางานผ่านอินเตอร์เนตนั้นได้ใช้บริการของเว็บไซต์นี้ อีกทั้งได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเว็บไซต์ที่ให้ความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสมัครงานที่มีขั้นตอนการดำเนินการที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน การจัดหมวดหมู่ และรายละเอียดของงานต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกสบายให้ผู้ใช้บริการ โดยได้มีการจัดลำดับถึงการบริการที่ทางเว็บไซต์ให้บริการกับลูกค้าว่าบริการใดเป็นที่พึงพอใจมากที่สุด ผลปรากฏว่าร้อยละ 64 พอใจที่ประวัติส่วนตัวอิเล็กทรอนิกส์ได้ส่งต่อให้กับบริษัทผ่านทางอินเตอร์เนต รองลงมาคือการสมัครรับอีเมล์เตือนว่ามีงานใหม่ที่เหมาะสมกับผู้หางานเป็นจำนวนร้อยละ 63 และสุดท้ายคือการฝากประวัติส่วนตัวไปที่เว็บให้บริการหางานเป็นจำนวนร้อยละ 43 ส่วนเว็บไซต์อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับรองลงมาคือ ฮอทจอบส์ดอตคอม (Hotjobs.com) ซึ่งได้รับความนิยมร้อยละ 30 รองลงมาคือ เว็บไซต์จอบส์คอทคอม (Jobs.com) ร้อยละ 25 เว็บไซต์เฮดฮันเตอร์ดอตคอม (Headhuunter.com) ได้รับความนิยมคิดเป็นร้อยละ 20 และแคเรียส์ดอตยะฮูดอตคอม (Careers.yahoo.com) ร้อยละ 15
การเลือกเว็บไซต์หางาน
เนื่องจากการอินเตอร์เนตเป็นแหล่งหางานที่กว้างมากดังนั้นการหางานบนอินเตอร์เนตผู้ที่ต้องการหางานผ่านอินเตอร์เนตจะต้องจับทางให้ถูกว่าต้องการสมัครงานทางด้านไหนแล้วจึงหาเว็บสมัครงานหรือหน้าสมัครงานที่ตรงกับสาขาที่ตนเองต้องการทำงาน เพื่อที่จะไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหางานที่ต้องการในทุกๆ เว็บไซต์ ผู้หางานควรเลือกเว็บหางานให้ตรงตามความต้องการไว้ประมาณ 2-3 เว็บ โดยเลือกให้ตรงสาขางานที่ต้องการมากที่สุด และลองหาดูจากโฆษณาว่ามีเว็บใดบ้างที่มีชื่อเสียง ควรเลือกเว็บไซต์ที่ใช้ง่ายและมีการสอนวิธีการใช้ มีซอฟต์แวร์ช่วยเหลือต่างๆ อาทิเช่น ช่วยจับคู่งานกับประวัติผู้สมัคร เป็นต้น เว็บไซต์หางานส่วนมากจะให้บริการฟรีกับผู้สมัครงานแต่จะมีรายได้จากบริษัทที่ขอปิดประกาศรับสมัครงาน ผู้เชี่ยวชาญการหางานกล่าวว่าเว็บไซต์ต่างประเทศมักจะมีแต่ตำแหน่งงานในระดับต่ำ เช่น เสมียนหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร เป็นต้น ในหนังสือ “แนวทางของเว็ดเดิลในการหางานผ่านเว็บไซต์” ได้มีการจัดลำดับตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งผลปรากฏว่าอันดับหนึ่งในการหางานผ่านอินเตอร์เนตก็คืองานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี อันดับที่สองคืองานด้านการขายและการตลาด อันดับที่สามเป็นงานวิศวกรรม อันดับที่สี่คืองานด้ายฝ่ายบุคคล อันดับที่ห้าเป็นงานการเงินและการบัญชี อันดับสุดท้ายเป็นงายด้านการจัดการ
วิธีการและขั้นตอนการหางานผ่านอินเตอร์เนต
การหางานผ่านอินเตอร์เนตนั้นไม่ได้แตกต่างไปจากการหางานด้วยวิธีการอื่นๆ มากนักส่วนที่แตกต่างกันก็ตรงที่อินเตอร์เนตเป็นตลาดหางานที่กว้างมาก แหล่งหางานซึ่งก็คือเว็บไซต์ต่างๆ มีอยู่มากมาย รวมทั้งวิธีการค้นหางานและสมัครงานที่ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วย ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่ควรปฏิบัติในการหางานผ่านอินเตอร์เนต
- ค้นหาตำแหน่งงาน ในการค้นหาตำแหน่งงานว่างบนอินเตอร์เนต สิ่งสำคัญคือการกำหนดคำค้นหา ผู้สมัครจะต้องใช้คำค้นหาที่อธิบายถึงตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างชัดเจน คำค้นหายังเป็นสิ่งที่ผู้ว่าจ้างใช้เพื่อค้นหาผู้สมัครที่เหมาะสมอีกด้วย ดังนั้นผู้สมัครจะต้องคิดคำเพิ่มเติมที่อธิบายถึงงานที่ต้องการ อาทิเช่น งานในบริษัทใหญ่หรือเล็ก เป็นต้น และคำที่อธิบายคุณสมบัติของผู้สมัคร เช่น เป็นคนสร้างสรรค์ ถนัดการทำงานเป็นทีม การอธิบายตนเองนี้ยังรวมถึงการเขียนประวัติส่วนตัวอีกด้วย ซึ่งบนอินเตอร์เนตมีเว็บไซต์ต่างๆ มากมายที่สอนให้รู้จักการเขียนประวัติส่วนตัวเพื่อสมัครงานในตำแหน่งต่างๆ ตัวอย่างหนึ่งก็คือเว็บทีบีอาร์เนตดอตคอม (tbrnet.com) ซึ่งจะสอนการเขียนประวัติส่วนตัวและจดหมายแนบ โดยจะมีตัวอย่างประวัติส่วนตัวในแต่ละอาชีพให้ดู เนื่องจากตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่งต้องการคุณสมบัติส่วนตัวของผู้สมัครที่แตกต่างกันไป การเขียนประวัติส่วนตัวเพื่ออธิบายตนเองจึงต้องเน้นลักษณะที่แตกต่างกันไป - เขียนประวัติส่วนตัวและจดหมายแนะนำตัว เพื่อให้ผู้ว่าจ้างสนใจที่จะจ้างหรือเรียกสัมภาษณ์ ผู้หางานควรปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว ทั้งประวัติ จดหมายแนบ หรืออื่นๆ ที่จำเป็นให้ทันสมัยและมีความน่าสนใจ ดึงดูดใจอยู่เสมอ ที่สำคัญหลังจากได้ปรับปรุงข้อมูลแล้ว จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นสามารถเปิดดูได้และน่าสนใจ การตรวจสอบทำได้โดยลองส่งไฟล์ข้อมูลไปให้เพื่อนสัก 2 คนทางอีเมล์ ให้เพื่อนลองเปิดดูไฟล์และตอบกลับมาว่าเป็นเช่นไรบ้าง - ค้นหาเว็บไซต์ช่วยหางาน เว็บไซต์ช่วยหางานมีทั้งแบบที่เสนองานทั่วๆ ไปและเจาะจงงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ หากผู้หางานต้องการหางานเฉพาะด้านก็ควรหาเว็บไซต์ที่เสนองานเฉพาะด้านที่ต้องการเท่านั้นเพื่อให้ประหยัดเวลาและได้งานที่ดี หรือหากไม่รู้ว่าจะหารายชื่อเว็บไซต์ช่วยหางานด้านที่ต้องการได้อย่างไรก็ลองค้นหาจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกัน อย่างเช่น ถ้าต้องการหางานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมก็สามารถเข้าไปหารายชื่อเว็บไซต์ช่วยหางานด้านสิ่งแวดล้อมที่เว็บอีโคดอตออร์ก (eco.org) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขององค์กรอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม หรือต้องการหางานในหลายๆ ด้านก็อาจเข้าไปดูที่เว็บไซต์ไอสลูธดอตคอม (isleuth.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ช่วยค้นหารายชื่อเว็บไซต์ช่วยหางาน และยังมีเครื่องมือช่วยเหลือผู้หางาน ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคำนวณเงินเดือน เป็นต้น - ลงประกาศบนเว็บไซต์ นอกจากค้นหางานจากเว็บไซต์ต่างๆ แล้ว ผู้หางานยังต้องลงประกาศประวัติส่วนตัวไว้เพื่อให้ผู้ว่าจ้างเข้ามาค้นหาและคัดเลือก สำหรับผู้ที่ไม่ได้ว่างงานจะต้องระวังไม่ให้นายจ้างปัจจุบันพบประกาศประวัติส่วนตัว ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลต่อสถานภาพงานในปัจจุบันได้ ดังนั้นควรจะจัดระบบป้องกันการขอดูประวัติส่วนตัวที่นำไปประกาศไว้บนเว็บไซต์อย่างเช่น ประกาศอย่างไม่ระบุชื่อหรือบางเว็บไซต์จะให้ผู้หางานใช้โปรแกรมป้องกันไม่ให้นายจ้างคนปัจจุบันสามารถเข้าไปดูข้อมูลส่วนตัวได้ - ตอบรับการช่วยเหลือที่เว็บไซต์เสนอให้ เว็บไซต์ช่วยหางานส่วนมากจะมีระบบส่งอีเมล์แจ้งข่าวตำแหน่งว่าง เมื่อผู้หางานเข้าไปค้นหาตำแหน่งงานแล้ว ระบบจะคอยส่งอีเมล์ไปเตือนเมื่อมีตำแหน่งที่ค้นหาเปิดรับสมัครและจะส่งประวัติส่วนตัวของผู้สมัครไปให้กับผู้ว่าจ้างทันที ผู้ว่าจ้างจะได้รับประวัติส่วนตัวภายในเวลา 5 นาทีหลังจากระบบจับคู่ตำแหน่งงานกับประวัติผู้สมัครแล้ว ระบบนี้เรียกว่า “ตัวแทนค้นหาตำแหน่งว่าง (Personal Search Agents)” ซึ่งก็เปรียบเสมือนนักช็อปส่วนตัว ผู้สมัครเพียงแค่กรอกข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ต้องการ เพียงเท่านี้ตัวแทนค้นหางานส่วนตัวซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์นั่นเองก็จะทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ เช่น ตรวจสอบงานที่ลงประกาศในเว็บทั้งหมด ส่งอีเมล์แจ้งงานที่ตรงกับคุณสมบัติของผู้สมัครเป็นระยะๆ และปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้สมัคร เป็นต้น ดังนั้นหากเว็บไซต์ใดมีระบบที่คอยช่วยเหลือดังนี้ผู้หางานจึงควรตอบรับไว้ เว็บท่าบางแห่งเสนอความช่วยเหลือด้านการหางานไว้ อาทิเช่น เว็บเอ็กไซต์ดอตคอม (excite.com) หรือเว็บจ๊อบสมาร์ทดอตออร์ก (jobsmart.org) ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมข้อมูลส่วนตัว การค้นหางาน การตรวจสอบระดับเงินเดือน ตลาดนัดแรงงานบนอินเตอร์เนต ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์กับผู้หางานมาก - หมั่นตรวจสอบข้อมูล เมื่อได้ฝากประวัติให้เว็บไซต์หางานช่วยประกาศแล้ว ผู้สมัครจะต้องหมั่นปรับปรุงข้อมูลประวัติส่วนตัวให้ทันสมัยและน่าสนใจอยู่เสมอ ตลอดจนถึงตรวจเช็คอีเมล์ว่ามีการแจ้งตำแหน่งงานว่างส่งมาจากเว็บหรือไม่
หลักสำคัญที่พึงปฏิบัติในการหางานผ่านทางอินเตอร์เนต
ในการหางานทางอินเตอร์เนตนั้น ผู้คนหลายคนที่เป็นนักเล่นอินเตอร์เนตอาจจะคิดว่ามันเป็นการหางานที่ง่าย สะดวกสบาย และใช้เวลาไม่มากกับการเสียเวลากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะได้งานดีๆ ที่หวังโดยไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอย่างดีเพื่อที่จะเดินเข้าออกตามสถานที่ต่างอย่างยากลำบาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีอินเตอร์เนตจะทำให้หางานได้ง่าย แต่ก็ยังมีหลักที่ผู้หางานไม่ควรมองข้าม และต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างดีเพื่อประโยชน์ในการหางานที่มากกว่าผู้หางานคนอื่น การหางานในอินเตอร์เนตนั้นก็เหมือนกับการหางานในแบบดั้งเดิมทั่วไป ผู้หาต้องเตรียมตัวให้พร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมประวัติส่วนตัว การศึกษาประวัติของบบริษัทที่จะเข้าทำงาน การเขียนจดหมายสมัครงาน การติดตามผล หรือแม้กระทั้งการพูดคุยทางโทรศัพท์ การที่เว็บไซต์จัดหางานขนาดใหญ่เช่น แคเรียโมซาอิค (CareerMosaic) ฮ้อทจอบส์ (HotJobs) และมอนส์เตอร์ (Monster.com) นั้นเป็นที่สนใจของผู้หางานมากมายก็เพราะว่าภายในเว็บเหล่านี้มีตำแหน่งงานว่างหลายพันตำแหน่งคอยอยู่ และผู้หางานก็สามารถที่จะส่งประวัติส่วนตัวผ่านอีเมล์ไปสมัครงานได้ทันที แต่สำหรับผู้หางานที่ใช้ความสามารถของอินเตอร์เนตให้เต็มที่นั้นจะเข้าไปดูรายละเอียดที่ลึกเข้าไปอีก เช่น ข้อมูลของต่างๆ ของบริษัท ข่าวสารต่างๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ได้งานก็เป็นได้ หลักการที่ผู้หางานทางอินเตอร์เนตมีดังต่อไปนี้
- ต้องทำความรู้จักตนเองให้ดีเสียก่อน ผู้หางานที่ดีต้องรู้ว่าตนเองต้องการทำอะไร ต้องรู้ว่าตนเองนั้นชอบที่จะทำงานด้านใด บริษัทแบบไหนหรือเจ้านายแบบใดที่สามารถทำงานด้วยได้ อัตราเงินเดือนเท่าไรถึงจะเพียงพอกับความต้องการ ผู้หางานต้องทำการศึกษาบริษัทที่จะสมัครงานให้ดี ต้องรู้ว่าแนวทางการทำงานเป็นแบบใด ความรู้ความสามารถแบบไหนที่เป็นที่ต้องการของบริษัท ซึ่งข้อมูลต่างๆ ของบริษัทนั้นนอกจากจะหาได้จากที่แนบมาตามเว็บไซต์หางานแล้ว ผู้หางานทั้งหลายยังสามารถหาได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลทั่วไปของบริษัทต่างๆ ได้ ตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ โฮเวอรส์ออนไลน์ (Hoovers.com) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลทั่วไปของหลากหลายบริษัท เว็บไซต์ของนิตยสารฟอร์จูน (http://cgi.pathfinder.com/fortune) ที่มีข้อมูลทั่วไปของบริษัทมากมาย และที่เว็บไซต์ของสถาบันสถิติแรงงานของสหรัฐ (http://stats.bls.gov/) ทีมีข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและตำแหน่งงานมากมายที่สำคัญผู้หางานต้องกล้าที่จะถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวกับบริษัทนั้นๆ หากเป็นบริษัทที่ต้องการจะเข้าทำงานจริงๆ ยิ่งถ้าได้ข้อมูลของผู้สมัครคนอื่นด้วยก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสมากขึ้นเท่านั้น - ฝึกฝนการเขียนประวัติส่วนตัวอิเล็กทรอนิกส์ ผู้หางานผ่านอินเตอร์เนตนั้นนิยมใช้ประวัติส่วนตัวอิเล็คทรอนิกเป็นอย่างมาก เพราะสามารถส่งผ่านเว็บหรือทางอีเมล์ไปได้ทันที หรือจะพิมพ์ลงกระดาษเพื่อส่งทางจดหมายธรรมดาก็ได้ ส่วนผู้จ้างก็สะดวกในการค้นหาข้อมูลและสามารถเก็บเป็นฐานข้อมูลได้การเขียนประวัติส่วนตัวที่ใช้ในการสมัครงานผ่านอินเตอร์เนตนั้น หลักการทั่วไปจะเหมือนการเขียนเพื่อใช้ในการสมัครงานทั่วไป ดังนั้นหากผู้สมัครมีโอกาสที่จะได้เข้าไปยื่นประวัติส่วนตัวที่เป็นแผ่นกระดาษ เนื้อหาที่อยู่ในประวัติส่วนตัวนี้ควรจะเป็นแบบเดียวกันกับภายในเนื้อหาประวัติส่วนตัวอิเล็คทรอนิกที่ได้เคยส่งให้ผู้จ้างก่อนหน้านี้ผู้เขียนต้องคำนึงว่าการที่ผู้จ้างจะเรียกดูประวัติที่มีมากมายผ่านอินเตอร์เนตนั้น ผู้จ้างมักจะค้นหาจากคำสำคัญ (Key Words) ที่ตรงกับที่ตัวผู้จ้างเองต้องการ ดังนั้นการใช้คำในประวัติส่วนตัวนั้นควรที่จะใช้คำที่ตรงกันกับงานที่ผู้จ้างลงประกาศหา เพื่อเวลาที่ผู้จ้างคนหาผ่านเนต รายชื่อของผู้สมัครคนนั้นจะได้ตรงกับผลลัพธ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์คำนวน ผู้หางานต้องคำนึงเสมอว่า ประวัติส่วนตัวอิเล็คทรอนิกนั้นเป็นเครื่องมือหางานที่สามารถสร้างขึ้นได้อย่างง่ายดาย เพราะฉะนั้นผู้จ้างมักจะต้องการประวัติส่วนตัวอิเล็คทรอนิกที่โดดเด่นกว่าทั่วไป ผู้สมัครต้องใส่ใจในรายละเอียดของคำที่มีความหมายคล้ายกันให้ดีว่าผู้จ้างต้องการผู้สมัครด้านใด เช่น นักออกแบบก็จะต้องใช้คำค้นที่ระบุไปเลยว่าออกแบบอะไร ถ้าเป็นการออกแบบภายในอาคารก็จะไม่ใช้คำว่านักออกแบบแต่จะใช้คำว่ามัณฑนากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดคำค้นที่เป็นภาษาอังกฤษยิ่งต้องใช้ความรอบคอบเพราะ คำในภาษาอังกฤษหลายคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน เนื่องจากประวัติส่วนตัวอิเล็คทรอนิกนี้ใช้การส่งผ่านในรูปแบบอิเล็คทรอนิก รูปแบบตัวอักษร รูปแบบของหน้าอาจจะผิดเพี้ยนเมื่อถูกส่งผ่านถึงผู้รับ ดังนั้นผู้หางานควรที่จะเขียนประวัติส่วนตัวเป็นไฟล์เอกสารจำพวกที่เป็นรหัสแอสกี (ASCII) หรือเท็กซ์โอนลี่ (Text-only) หรือเอ็มเอสดอสเท็กซ์ดอกคิวเมนท์ (MS-DOS text document) เท่านั้น ซึ่งไฟล์ที่สร้างจากรูปแบบที่กล่าวมานี้จะมีนามสกุลเป็นดอตทีเอ็กซ์ที (.TXT) ซึ่งมักไม่ได้รับผลกระทบกับรูปแบบเวลาส่งผ่านข้อมูล การย่อหน้าในการเขียนประวัติส่วนตัวอิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้เขียนควรใช้การเคาะเว้นวรรคประมาณสามถึงห้าครั้งแทนการกดปุ่มย่อหน้าเพื่อป้องกันการบิดเบือนของรูปแบบเนื้อหาหลังจากการส่งข้อมูล ในส่วนเนื้อหาที่ต้องการเขียนให้เป็นรูปแบบรายการ ผู้เขียนควรที่จะใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ ยติภังค์ กำกับทุกครั้งเพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ ในประโยคใดที่ผู้เขียนต้องการที่จะเน้นหรือเขียนเป็นตัวหนา ให้ใช้เครื่องหมายขีดล่าง เครื่องหมายดอกจันทร์ หรือเครื่องหมายบวก ใส่ไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของประโยคนั้นๆ แทนการพิมพ์ตัวหนา เช่น _The New York Time_ เป็นต้นการขึ้นบรรทัดใหม่ ผู้เขียนควรกะระยะในแต่ละบรรทัดให้อยู่ในช่วง 65 ถึง 70 ตัวอักษร เพื่อป้องกันการบิดเบือนหลังส่งข้อมูล มีเว็บไซต์มากมายในอินเตอร์เนตที่ช่วยสอนการเขียนประวัติส่วนตัว และอธิบายวิธีการสมัครงานที่ถูกต้อง บางเว็ยไซต์นั้นยังมีบริการสร้างประวัติส่วนตัวอิเล็กทรอนิกส์ให้อีกด้วย ผู้สมัครควรจะใช้ความระมัดระวังในการเลือกใช้บริการเหล่านี้ ควรตรวจสอบผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการในแต่ละเว็บ เพื่อประโยชน์ของตนเอง เว็บไซต์ของ แกรี่ วิวส์ เวิรคเสรอซ (Gary Well’s WorkSearch = http://home.golden.net/~archeus/reswri.htm) เป็นหนึ่งเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการจัดหางานและรวมถึงแนะแนววิธีเขียนประวัติส่วนตัวอีกด้วย อินเตอร์เนตก็เป็นช่องทางการหางานที่สะดวกและทำให้ใช้เวลาได้คุ้มค่าที่สุด ผู้หางานสามารถหางานได้ทุกเวลาและเมื่อได้รับการเรียกตัวไปสัมภาษณ์ก็ใช้เวลาช่วงกลางวันออกไปสัมภาษณ์และใช้เวลาในช่วงกลางคืนหางานต่อไป แต่อินเตอร์เนตไม่ใช่ช่องทางเดียวที่หางานได้ ดังนั้นผู้ที่หางานควรใช้ทุกช่องทางที่สามารถช่วยให้หางานได้ แต่อินเตอร์เนตไม่ใช่ช่องทางเดียวสำหรับการหางาน ดังนั้นผู้ที่หางานควรใช้ทุกช่องทางที่สามารถช่วยให้หางานได้ เช่น ออกไปสมัครด้วยตนเองและหางานจากประกาศรับสมัครตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น บางทีการหางานจากหน้าประกาศอาจง่ายกว่าและยังมีบริษัทอีกไม่น้อยที่ไม่ได้ประกาศรับสมัครงานผ่านอินเตอร์เนต ดังนั้นจึงควรเลือกหางานทุกช่องทางที่มีอยู่ ในปัจจุบันอินเตอร์เนตเข้ามามีบทบาทมากในธุรกิจต่างๆ และก็มีเว็บไซต์เป็นจำนวนมากที่ให้บริการแบบครบวงจร เว็บท่าทั้งหลายนั้นมักจะมีบริการสมัครงานด้วย เว็บของหน่วยราชการ กระทรวง ทบวง ต่างๆ ก็มักจะมีการประกาศรับสมัครงานเป็นระยะ เว็บไซต์ของบริษัทนอกจากจะมีข่าวและข้อมูลต่างๆ ของบริษัทแล้วก็มักจะมีประกาศรับสมัครงานอีกด้วย ผู้หางานต้องหูตากว้างไกล หากสนใจจะทำงานด้านไหนก็ควรที่จะเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของบริษัทที่มีงานเกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่น หากสนใจงานด้านการศึกษา ก็สามารถเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ เดอะ โครนิกเกิล อ้อฟ ไฮย์เออร์ เอดูเคชั่น (The Chronicle of Higher Education = http://www.chronicle.com/) ซึ่งเป็นเว็บที่ให้บริการข่าวสารในแวดวงการศึกษา และมีประกาศรับสมัครงานด้วย หรือถ้าหากได้มีโอกาสได้เข้าไปอ่านนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ออนไลน์ก็สามารถหางานได้จากในส่วนตำแหน่งงานต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของเดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นอล (http://careers.wsj.com/) เป็นต้น วิธีหนึ่งที่จะทำให้สามารถหางานในพื้นที่ที่เลือกได้นอกเหนือจากการเลือกทำเลที่ตั้งของบริษัทจากในเว็บไซต์หางานแล้วก็คือ หารายชื่อบริษัทจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ต้องการจะทำงาน ขอบเขตของรายชื่อบริษัทก็จะแคบลง ทำให้สะดวกในการหา ในอินเตอร์เนต นอกเหนือจากบริการแบบ เวิร์ล ไวด์ เว็บ (World Wild Web) ที่เป็นเว็บไซต์แล้ว ยังมีบริการแบบอื่นอีกที่ผู้หางานสามารถใช้งานเพื่อการค้นหางานที่ต้องการได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น บริการกลุ่มข่าว (Newsgroup) คือการใช้บริการรับข่าวสารต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถเลือกหัวข้อข่าวที่ต้องการรับได้ เว็บไซต์ที่มีผู้ให้ความสนใจนั้นมีมากมาย เช่น เว็บไซต์เดจา นิวส์ (http://www.dejanews.com/) เป็นต้น อีกบริการหนึ่งก็คือบริการรายชื่อไปรษณีย์ (Mailing list) ซึ่งเป็นบริการในอินเตอร์เนตที่ให้ผู้ใช้ที่มีความสนใจร่วมกันมีสิทธิได้รับข่าวสารที่แบ่งเป็นหมวดหมู่ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการรายชื่อไปรษณีย์ก็คือ คาตาลิสท์ (www.lsoft.com/catalist.html) และเว็บไซต์ ทอปิกา (http://www.topica.com/) เป็นต้น สิ่งที่ควรจำก็คือ งานทีมักจะมีประกาศในกลุ่มข่าวและรายชื่อไปรษณีย์นั้นมักจะเป็นงานที่ต้องการความสามารถเฉพาะด้าน เพราะเป็นการรวมกลุ่มภายใต้หัวข้อที่น่าสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีอินเตอร์เนตนั้นเปิดโอกาสให้กับทุกๆ คนเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าบุคคลใดจะมีไหวพริบที่จะแสวงหาโอกาสได้มากกว่าคนอื่น มีผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่า การหางานทางอินเตอร์เนตนั้นเหมาะสมกับผู้ที่ต้องการหางานในต่างแดนหรือต่างประเทศ และเหมาะสมกับผู้ที่มีความสามารถในความรู้เฉพาะด้าน หรือมีประสบการณ์การทำงานจากบริษัทที่มีชื่อเสียง เมื่อวันนี้มีโอกาสได้ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เนตแล้วก็ต้องหมั่นฝึกฝนเพิ่มเติมต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น